วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2563

ทวงหนี้ ประจานผ่านสื่อสังคมเครือข่าย

การโพสสื่อออนไลน์เป็นสิทธิของเราก็จริง  แต่การใช้สิทธิของเราจะต้องไม่กระทบกระเทือนต่อคนอื่นๆ ไม่เช่นนั้นจะเป็นการทำผิดกฏหมาย

1.การไปด่าผู้อื่น เพราะการไปด่าผู้อื่นเปรียบเสมือนว่าไปใส่ความคนคนนั้น  เอาเรื่องผู้คนอื่นไปพูดให้บุคคลที่ 3 ฟัง ซึ่งมีความผิด

2.การไปด่าผู้อื่นซึ่งทำให้คนนั้นเสียหาย  เช่น เมียน้อย

3.การโพสเฟสบุ๊ค เจาะจงบุคคลนั้น ว่า เป็นผู้เสียหายก็มีความผิดเช่นกัน





การหมิ่นประมาท

หมิ่นประมาท เป็นเครื่องมือทางกฎหมายที่ถูกหยิบขึ้นมาใช้กันบ่อยครั้ง ท่ามกลางสถานการณ์ที่มีความขัดแย้ง และมีคนแสดงความคิดเห็นแตกต่างกัน หรือมีการ "ด่ากัน" โดยเฉพาะในยุคที่ทุกคนมีพื้นที่แสดงความคิดเห็นผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของตัวเอง การระบายความรู้สึกด้านลบ การใช้เหตุผลวิจารณ์ และแสดงความคิดเห็นแตกต่างกันในประเด็นต่างๆ สามารถทำได้ง่ายตลอดเวลา และเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้คดีความฐานหมิ่นประมาทเกิดขึ้นได้ง่าย และมีปริมาณมากขึ้นด้วย
 
           เมื่อคนรับรู้ว่า ตัวเองถูกโจมตีด้วยข้อความต่างๆ และอยากใช้กฎหมายตอบโต้ ความผิดฐานหมิ่นประมาทจะถูกมองเห็นก่อนในฐานะเครื่องมือที่พื้นฐานที่สุด และสามารถหยิบใช้ได้กับแทบทุกกรณี ความผิดฐานหมิ่นประมาทตามกฎหมายไทยมีทั้งโทษทางอาญาซึ่งอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา และมีทั้งการหมิ่นประมาททางแพ่งซึ่งอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิย์ การหมิ่นประมาททั้งสองประเภทมีองค์ประกอบแตกต่างกันและมีวิธีการดำเนินคดีเพื่อเอาผิดที่แตกต่างกัน ที่ผ่านมามีตัวอย่างให้เห็นหลายกรณีที่มีผู้หยิบเอาข้อหา "หมิ่นประมาททางอาญา" มาใช้เป็นเครื่องมือทางกฎหมายตอบโต้กับการแสดงความคิดเห็นในสิ่งที่ตัวเองไม่อยากได้ยิน แม้ข้อหานี้จะมีระวางโทษไม่สูงมาก และมีบทยกเว้นความรับผิดค่อนข้างกว้าง แต่ในการเอาตัวผู้ที่แสดงความคิดเห็นเข้าสู่กระบวนการดำเนินคดีก็มีต้นทุนสูง ส่งผลให้ผู้ที่เคลื่อนไหวในประเด็นสาธารณะต้องมีต้นทุนติดตัวสูง เป็นการสร้างภาระเรื่องค่าใช้จ่ายในการเดินทาง การต่อสู้คดี และสร้างความหวาดกลัวให้กับคนที่ต้องการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นสาธารณะ อย่างมีประสิทธิภาพพอสมควร

การรู้เ่ท่าทันสื่อ

การรู้เท่าทันสื่อที่เราต้องใช้ในชีวิตประจำวันในสังคมที่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับบสินค้า ผลิตภัณฑ์ บริการต่าง ๆ ตลอดจนความเชื่อค่านิยม ออกทั้งการบ้านการเมือง โดยเฉพาะความแตกแยก ขัดแย้งไหลเข้ามาใส่เราจนตั้งตัวไม่ได้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องมีสติและปัญญาในการเลือกรับข่าวสาร ไตร่ตรอง และใช้ข้อมูลเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์ คนที่รู้เท่าทันสื่อก็จะมีทางเลือกมากขึ้นในการบริโภคและการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะรู่ว่าจะจัดการกับสื่อและสารต่าง ๆ ที่เข้ามาหาเราด้วยมุมมองแบบไหน ยิ่งกว่านั้น การรู้เท่าทันสื่อยังเป็นการเพิ่มพลังและอำนาจให้แก่ตัวเอง ในการควบคุมความเชื่อและพฤติการณ์ส่วนตัวของเราได้ เช่น ไม่เชื่อตามโฆษณา ว่าคุณค่าหรือความงามอยู่ที่ผิวขาวหรือผมสวย จึงไม่จำเป็นต้องซื้อสินค้าด้วยเหตุผลนั้น แต่ดูคุณภาพและประโยชน์จริง ๆ ของสินค้า เป็นต้น

พฤติกรรมเสี่ยง พรบ.คอมฯ

พฤติกรรมเสี่ยง  พรบ.คอมฯ

1.การโพสข้อความหมิ่นเบื้องสูง  หรือ การเว็บไซต์หมิ่นสถาบันเบื้องสูง  มีโทษจำคุก 5 ปี  ปรับไม่เกิย 100,000 บาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ และตามกฎหมายอาญามีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 15 ปี

2.การปล่อยข่าวลือ  ข่าวเท็จที่ไม่เป็นจริงต่างๆ ซึ่งทำให้บ้านเมืองเกิดความชุลมุนวุ่นวาย 

3.การนำเรื่องที่ไม่เป็นความจริงของผู้อื่นมาโพส

4.การตัดต่อภาพผู้อื่น  จนทำให้ผู้อื่นเสียหาย มีสิทธิได้รับโทษทั้งจำทั้งปรับ

5.แอบนำข้อมูลของผู้อื่นมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาติ เช่น facebook,line   มีโทษจำคุก 6 เดือน  ปรับ 10,000 บาท

**ทั้งนี้ก่อนจะแชร์ข้อมูลอะไรต้องตรวจสอบให้ดีก่อนหากแชร์ข้อมูลใดๆที่เป็นเท็จ  เราอาจจะต้องรับโทษเท่ากับผู้ที่ทำข้อมูลนั้นขึ้น

การรู้เท่าทันลิขสิทธิ์

ความคิดสร้างสรรค์เป็นทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งมีมูลค่าทางเศรษฐกิจ

ลิขสิทธิ์ คือ สิทธิเพียงผู้เดียวในการกระทำใดๆ กับผลงานของตนที่สร้างสรรค์ขึ้นแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งคนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า ลิขสิทธิ์จะต้องจดทะเบียนกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งเป็นความคิดที่เข้าใจผิดลิขสิทธิ์ แบ่งออกเป็น ประเภท คือ วรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง แพร่ภาพแพร่เสียง วรรณคดี วิทยาศาสตร์และศิลปะ ของผู้สร้างสรรค์ไม่ว่าวิธีการใดหรือรูปแบบใดก็ตาม 

ส่วนข่าวประจำวัน กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ ข้อพิพากษาหรือคำสั่งราชการ คำแปล/การรวบรวมของรัฐหรือท้องถิ่นจัดทำขึ้นไม่ถือเป็นงานลิขสิทธิ์ที่กฎหมายคุ้มครอง การละเมิดลิขสิทธิ์ คือการทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่งานต่อสาธารณชนโดยไม่ได้รับอนุญาต ผู้ที่จะต้องรับโทษทางอาญาและจ่ายค่าเสียหายแก่เจ้าของงานแต่มีข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย

วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2563

บทที่ 9 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับปรับปรุงแก้ไข พ.ศ.2560

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550  และที่ปรับปรุงแก้ไข พ.ศ.2560


      ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรา ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานต่าง ๆ ล้วนเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น จึงเป็นสิ่งที่เราจะต้องศึกษาข้อมูลและทำความเข้าใจเกี่ยวกับพ...ฉบับนี้ และเตรียมพร้อมรับมือเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์และให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในประเทสไทยของเราเป็นไปในทางที่สร้างสรรค์
     
     1. การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นการแชท โพสต์หรือทำอะไรก็ตามที่ไม่รับอนุญาตจากเจ้าของจะมีความผิดตามมาตราที่  จำคุกไม่เกิน เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
     2. การนำข้อมูลข้อมูลรหัสผ่าน หรือ วิธีการเข้าสู่ระบบที่ป้องกันไว้ไปเปิดเผยจะมีความผิดตามมาตราที่ 6 จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
     3. ใครเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต มีความผิดตามมาตราที่ 7 โทษ คือ จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
     4. การดักรับไไฟล์ข้อมูลที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์นั้น มีความผิดตามมาตราที่ 8 จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
     5. การเปลี่ยนแปลงแก้ไขทำลาย ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษตามมาตราที่ จำคุกไม่เกิน ปี ปรับ ไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
     6. การทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ เช่น การปล่อยไวรัส จำคุกไม่เกิน ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา 10
     7. การส่งข้อมูลผ่านอีเมลทางแชท ที่ปกปิดปลอมแปลงที่มา ถือว่าเป็นความผิดตามมาตรา 11 ปรับไม่เกิน 100,000 บาท
     8. ผู้ใดกระทำความเสียหายแก่ระบบ  ต้องจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท และถ้าหากความเสียหายนั้นส่งผลต่อสาธารณะ เศรษฐกิจหรือความมั่นคงของประเทศ จำคุก 3 - 15 ปี และปรับ 60,000 – 300,000 บาท ตามมาตราที่ 12 
     9. จำหน่ายชุดหรือโปรแกรมขึ้นเพื่อนำไปใช้กระทำความผิดต้องได้รับโทษตามมาตรา 13 จำคุกไม่เกิน ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
     10. นำข้อมูลที่ผิดพ...เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เช่น ข้อมูลปลอม จะต้องจำคุกไม่เกิน ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตราที่ 14
     11. หากผู้ใดให้ความร่วมมือ ยินยอม หรือ รู้เห็นเป็นใจให้มีการกระทำผิดตามมาตรา 15 จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
     12. การเผยแพร่ภาพตัดต่อ เติม ตัดแปลงภาพไม่ว่าด้วยววิธีใดก็ตาม มีความผิดตามมาตราที่ 16 ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท 

วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2563

นวัตกรรมอัจฉริยะ  "คอนแทคเลนส์ถ่ายภาพและวิดีโอได้"

     ดูเหมือนว่าเทคโนโลยีไฮเทคที่เรามักจะเห็นในหนังสายลับต่างๆ จะไม่ได้มีให้เห็นแค่ในจออีกต่อไป แต่เรากำลังจะได้ใช้จริงแล้ว เพราะล่าสุดบริษัท SONY ได้พัฒนาคอนแทคเลนส์ให้เป็นสิ่งของที่มีนวัตกรรมอัจฉริยะมากขึ้น โดยทำให้สิ่งนี้สามารถถ่ายภาพนิ่งและบันทึกภาพเคลื่อนไหวได้ด้วยการกะพริบตาเท่านั้น
    โดยบริษัท SONY ได้นำเทคโนโลยี Nikola Tesla มาพัฒนากับตัวคอนแทคเลนส์อัจฉริยะนี้ ซึ่งในคอนแทคเลนส์จะประกอบไปด้วยการถ่ายภาพ ชุดคุมส่วนกลาง เสาอากาศ พื้นที่เก็บคลังข้อมูล และเซ็นเซอร์ ซึ่งมีการทดลองจนประสบความสำเร็จ และได้ทำการยื่นขอจดสิทธิบัตรเทคโนโลยีนี้ขึ้น
    ในส่วนของการทำงานของคอนแทคเลนส์อัจฉริยะนี้ จะทำการบันทึกภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวเวลาที่กะพริบตาเพื่อตั้งใจถ่ายภาพ โดยจะมีเซ็นเซอร์เพื่อแยกว่าตอนไหนคือการกะพริบตาปกติแบบไม่รู้ตัว และเวลาไหนคือการกะพริบตาเพื่อตั้งใจถ่ายภาพ โดยทาง SONY ได้อธิบายไว้ว่า ปกติแล้วคนเราจะกะพริบตา 0.2 - 0.4 วินาที ต่อครั้ง แต่หากเรากะพริบตาเกินกว่า 0.5 วินาที ต่อครั้ง ซึ่งถือว่าผิดปกติจากการกะพริบตาของมนุษย์ จะทำให้คอนแทคเลนส์ทำการบันทึกภาพและภาพเคลื่อนไหวในตอนนั้น
    นอกจากนี้คอนแทคเลนส์อัจฉริยะนี้ยังทำงานแบบไร้สาย โดยใช้คลื่นวิทยุกับการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าของเทคโนโลยี Nikola Tesla มาทำให้เป็นการทำงานแบบไร้สาย ซึ่งแหล่งพลังงานจะมาจากสมาร์ตโฟน คอมพิวเตอร์ หรือแท็บเล็ตที่เชื่อมต่อ ซึ่งจะสามารถทำการซูมและโฟกัสอัตโนมัติได้ด้วย
    แต่อย่างไรก็ตาม คอนแทคเลนส์อัจฉริยะนี้น่าจะยังต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบต่างๆ เพื่อให้มั่นใจและแน่ใจว่าปลอดภัย มีความเหมาะสม และเป็นนวัตกรรมชั้นดีที่พร้อมจะออกสู่ตลาดให้เราได้ใช้มันจริงๆ 
อ้างอิง: ANONHQEDGY